อาการเสียงแหบ เสียงหาย เสียงเปลี่ยนเวลาไม่สบาย แก้ยังไง?

เสียงแหบ เสียงหาย เสียงเปลี่ยนเวลาไม่สบาย ทำอย่างไร ?

เสียงแหบ แสบคอจนพูดแทบไม่ออก หรือพูดไปแล้วเสียงอาจขาดหายเป็นช่วงๆ จนจับใจความได้ยาก อาการเสียงแหบที่ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กแต่กลับสร้างผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ไม่น้อยโดยเฉพาะในผู้ที่ต้องใช้เสียงบ่อยๆ อย่างนักร้อง นักจัดรายการวิทยุ พ่อค้า แม่ค้า คุณครูหรือพนักงานฝ่ายขายที่ต้องพูดคุยกับลูกค้าเป็นประจำ นับรวมไปจนถึงบุคคลธรรมดาที่แม้จะไม่ได้ใช้เสียงมากนักก็อาจมีอาการเสียงแหบ เสียงแห้งเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกัน เมื่อมีอาการเสียงแหบ แสบคอ ควรรีบจัดการให้ดีขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันไม่ให้อาการเสียงหายรุนแรงจนจัดการได้ยาก เสียงแหบ แก้ยังไง? เสียงแหบ กินอะไรหาย? วิธีทำให้หายเจ็บคอ ต้องทำแบบไหน มาดูคำตอบไปพร้อมๆ กันได้ในบทความนี้

เสียงแห้ง เสียงแหบ เกิดจากอะไร?

เสียงแหบ เสียงหาย จนแทบจะพูดไม่ออกเป็นภาวะความผิดปกติของกล่องเสียงและสายเสียงที่อยู่ภายในลำคอซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ทั้งอาการเสียงแหบ แสบคอเพราะอาการอักเสบหรือมีไข้หวัดจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อาการเสียงแหบที่เกิดปัจจัยกระตุ้นอื่นๆ ที่ไม่ใช่การติดเชื้อ โดยมีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียงแหบที่พบได้บ่อย ดังนี้

  • เสียงแหบที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย ทำให้เกิดอาการไข้หวัด หวัดลงคอ อาการคออักเสบหรือคอหอยอักเสบ เป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อเชื้อโรคที่อยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนบนลามลงมาที่คอ ส่งผลให้เกิดการอักเสบที่บริเวณเนื้อเยื่อภายในลำคอรวมไปจนถึงกล่องเสียงและสายเสียง เมื่อสายเสียงไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่จึงส่งผลให้มีอาการเสียงแหบต่ำ เสียงสั่นพร่า เสียงเปลี่ยนเวลาเป็นไข้ได้
  • เสียงแหบ เสียงแห้งจากการใช้เสียงเยอะเกินไป ใช้เสียงผิดวิธี เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียงแหบหายซึ่งพบได้บ่อยโดยเฉพาะในผู้ที่ต้องใช้เสียงเยอะ เช่น ครู อาจารย์ แม่ค้า พ่อค้า นักร้อง รวมถึงคนที่ชอบตะโกน ตะเบ็งเสียงดังๆ อยู่เป็นประจำ การใช้เสียงที่ผิดวิธีจนส่งผลให้กล่องเสียงและสายเสียงทำงานหนักมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง อักเสบบวมแดง เวลาที่เปล่งเสียงออกมาเสียงจึงมีลักษณะที่แหบพร่าและทุ้มต่ำ ไม่สดใส นอกไปจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เจ็บคอ ระคายคอ มีอาการไอและมีเสมหะ
  • อาการเสียงแหบจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะผู้ที่ชอบทานอาหารรสจัด อาหารประเภททอด ของมัน รวมถึงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมากมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการระคายเคืองของเนื้อเยื่อภายในลำคอ กล่องเสียงและสายเสียง จนส่งผลให้เกิดปัญหาเสียงแหบได้
  • การสูดดมมลพิษ ฝุ่น ควัน สารเคมีหรือควันบุหรี่ มลภาวะในอากาศนับเป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเสียงแหบ เสียงแห้งเพราะสารพิษเหล่านี้จะเข้าไปสะสมตกค้างภายในระบบทางเดินหายใจและลำคอ จนทำให้กล่องเสียงและสายเสียงเกิดอาการอักเสบได้ในที่สุด
  • อาการเสียงแหบ เสียงแห้ง ที่เป็นผลกระทบจากโรคอื่นๆ เช่น โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจ โรคกรดไหลย้อน มีเนื้องอกที่สายเสียงและกล่องเสียง โรคมะเร็งกล่องเสียง ที่ทำให้ผู้ป่วยมีภาวะอาการไอ ระคายคอและเสียงแหบเรื้อรัง
  • อาการเสียงแหบที่เกิดจากการใช้ยา ยาบางชนิดอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียงแหบได้ เช่น ยาขับปัสสาวะ ยาพ่นจมูก/ปากหรือการทานวิตามิน อาหารเสริมในปริมาณมากที่อาจทำให้สายเสียงแห้งและรู้สึกระคายเคือง

เมื่อมีอาการ เสียงแหบ แก้ยังไงดี ?

อาการเสียงแหบ เสียงแห้งจนทำให้เสียงที่เปล่งออกมาฟังดูขาดๆ หายๆ ทั้งยังทำให้ผู้ป่วยรู้สึกระคายคอ เจ็บคออยู่แทบตลอดเวลาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเป็นอาการเสียงแหบจากการติดเชื้อ คออักเสบหรือหวัดลงคอ นอกจากนี้อาการเสียงแหบอาจเกิดขึ้นเพราะปัจจัยอื่นที่ไม่ใช่การติดเชื้อได้เช่นเดียวกัน เพื่อบรรเทาอาการเสียงแหบ เสียงหาย ให้ดีขึ้น ควรดูแลตนเองตามข้อแนะนำเหล่านี้

  • เมื่อเริ่มมีอาการเสียงแหบ เสียงแห้ง เจ็บคอ ควรหยุดกินอาหารเย็นๆ และน้ำเย็น เลือกดื่มน้ำที่อุณหภูมิห้องวันละประมาณ 7-8 แก้ว หรือจิบน้ำอุ่นๆ เป็นประจำตลอดทั้งวันเพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับลำคอรวมถึงลดอาการบวมแดงของกล่องเสียงและสายเสียง
  • งดการใช้เสียงมากเกินจำเป็นจนกว่าอาการเสียงแหบ เสียงแห้งจะหายเป็นปกติ ไม่ควรฝืนใช้เสียงต่อไปทั้งๆ ที่รู้สึกเจ็บคอ มีอาการเสียงแหบหรือในช่วงที่หวัดลงคอเพราะอาจทำให้อาการระคายเคืองของสายเสียงทวีความรุนแรงมากขึ้นจนทำให้เกิดภาวะอักเสบชนิดเรื้อรังได้
  • หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีมลภาวะในอากาศ เช่น บริเวณริมถนน ตลาดนัด รถขนส่งสาธารณะ ฯลฯ โดยควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อมีความจำเป็นต้องอยู่ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ไม่สะดวก
  • งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ โดยควรนอนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง/วัน เพื่อให้กล่องเสียงและสายเสียงฟื้นฟูตนเองได้อย่างเต็มที่
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลลำคอที่มีส่วนผสมของสแตนดาร์ดไดซ์โพรโพลิส เช่น ยาอมที่ช่วยให้ชุ่มคอ สเปรย์สำหรับฉีดพ่นในลำคอที่มีส่วนช่วยในการลดอาการระคายเคืองภายในลำคอ ช่วยให้รู้สึกสบายคอ ชุ่มคอและทำให้เสียงที่เคยแหบแห้ง เสียงแตกพร่า กลับมาดีขึ้นได้

อย่างไรก็ตามหากอาการเสียงแหบ เสียงแห้ง เจ็บคอยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ รวมถึงมีอาการรุนแรงอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีอาการไอเรื้อรัง มีเลือดปนกับเสมหะและน้ำลาย ควรรีบพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด

หวัดลงคอ เสียงแหบ กินยาอะไร ?

เสียงแหบ กินยาอะไรดี? สำหรับผู้ที่มีอาการเสียงแหบ เสียงแห้งและต้องการแก้เสียงแหบ เร่งด่วน สามารถบรรเทาอาการให้ดีขึ้นได้ด้วยการเลือกใช้ยาตามสาเหตุของอาการ ดังนี้

  • ยาแก้ปวดลดอักเสบ สำหรับผู้ป่วยที่เสียงแหบจากการติดเชื้อไวรัส หวัดลงคอหรือคออักเสบ สามารถรับประทานยาแก้ปวดลดอักเสบ เช่น ยาไอบรูโพรเฟน เพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ อาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัวและช่วยลดไข้
  • ยาปฏิชีวนะ เพื่อจัดการเชื้อที่เป็นต้นเหตุอาการเจ็บคอ ช่วยบรรเทาอาการเสียงแหบ เสียงแห้ง เจ็บคอในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการกล่องเสียงอักเสบเรื้อรัง โดยควรใช้ยานี้ภายใต้การดูแลของแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • ยาอมหรือสเปรย์ฉีดพ่นลำคอ ที่มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติ เช่น สแตนดาร์ดไดซ์โพรโพรลิส น้ำผึ้ง ที่ช่วยฆ่าเชื้อภายในลำคอ พร้อมลดอาการระคายเคืองภายในลำคอ ทำให้ชุ่มคอและโล่งสบายคอ สามารถใช้ได้เป็นประจำเมื่อรู้สึกเสียงแหบ เจ็บคอ โดยไม่ทำให้เกิดการตกค้างสะสมภายในร่างกาย

วิธีป้องกันปัญหาเสียงแหบ เสียงหาย

เมื่อเราได้ทราบถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเสียงแหบ เสียงแห้ง ตลอดไปจนถึงวิธีรักษาอาการเสียงแหบให้หายแล้วนั้น อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะขาดไปเสียไม่ได้คือการเตรียมตัวป้องกันไม่ให้เกิดอาการเสียงแหบ เจ็บคอ ได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยมีวิธีช่วยป้องกันอาการเสียงแหบ ดังนี้

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออยู่เสมอ โดยควรดื่มให้ได้อย่างน้อย 7-8 แก้ว/วัน เพื่อเติมความชุ่มชื้นให้กับร่างกายและลำคอ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพที่แข็งแรง
  • หลีกเลี่ยงการใช้เสียงมากเกินจำเป็น เช่น การตะโกน การตะเบ็งเสียง การพูดเสียงดังต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ฯลฯ โดยอาจใช้เครื่องทุ่นแรงอย่างลำโพงหรือเครื่องขยายเสียงเพื่อลดการใช้เสียง และควรมีช่วงพักเสียงหลังจากการใช้เสียงหนักๆ ไม่ควรฝืนใช้เสียงทั้งที่มีอาการเสียงแหบ เจ็บคอ
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด มีมลภาวะ ฝุ่น PM 2.5 ควันและสารเคมี โดยควรสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อต้องอยู่ในสถานที่ที่มีความแออัดมากเป็นพิเศษ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคไข้หวัดหรือผู้ที่ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ
  • งดการสูบบุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ยาสูบ และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการทานอาหารรสจัด ของทอด ของมัน ในปริมาณมาก

เสียงแหบ กินอะไรหาย ?

เสียงแหบ กินอะไรช่วยให้หายเร็ว? อาการเสียงแหบ เสียงแห้ง แสบคอ สามารถรักษาให้หายด้วยการกินยาตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร เช่น ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ยาอม สเปรย์ฉีดพ่นในลำคอที่มีสแตนดาร์ดไดซ์โพรโพลิส ทางเลือกใหม่จากธรรมชาติรสนุ่มชุ่มคอนอกไปจากนี้ยังสามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่ช่วยทำให้ชุ่มคอ เรียกเสียงให้กลับมาเหมือนเดิมได้ในเร็ววัน เช่น น้ำอุ่น น้ำผึ้งผสมมะนาว น้ำขิง สมุนไพร โจ๊ก ซุป แกงจืด ฯลฯ

สรุป

เสียงแหบ แก้ยังไง? เมื่อมีอาการเสียงแหบ เสียงหาย ควรสังเกตตนเองเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและใช้วิธีรักษาไปตามอาการ สำหรับผู้ที่มีอาการเสียงแหบ เสียงหายเพราะหวัดลงคอ คออักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อสามารถใช้ยาแก้ปวด ยาปฏิชีวนะ ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร นอกไปจากนี้สามารถอมยาอมหรือสเปรย์ฉีดพ่นในลำคอเพื่อช่วยทำให้ชุ่มคอและรู้สึกสบายคอมากขึ้น สิ่งสำคัญคือควรดูแลลำคอให้แข็งแรงอยู่เสมอด้วยการรับประทานอาหารที่ดี งดอาหารรสจัด ของมัน ของทอด ใช้เสียงให้ถูกวิธี หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่มีมลภาวะในอากาศและนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ หากอาการเสียงแหบ เสียงหายไม่ดีขึ้นภายใน 2 สัปดาห์ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและให้การรักษาได้อย่างตรงจุด

FAQs

ทำยังไงให้เสียงกลับมาปกติ?

พักการใช้เสียงหรือใช้เสียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ดื่มน้ำสะอาดให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของทอด ของมัน งดสูบบุหรี่ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

เสียงแหบแต่ไม่เจ็บคอเกิดจากอะไร?

อาจเกิดจากความผิดปกติของสายเสียงหรือกล่องเสียงภายในลำคอ

เสียงหาย กี่วันหาย?

อาการเสียงแหบ เสียงหาย โดยส่วนใหญ่จะค่อยๆ ดีขึ้นภายในช่วง 6-7 วัน 

กินอะไรช่วยให้เสียงใส?

ยาอม หรือสเปรย์ฉีดพ่นในลำคอ ช่วยทำให้ชุ่มคอ นอกไปจากนี้สามารถดื่มน้ำอุ่น น้ำผึ้งผสมมะนาว น้ำขิง สมุนไพร โจ๊ก ซุปใส เพื่อช่วยลดอาการระคายเคืองของสายเสียงและกล่องเสียงทำให้เสียงกลับมาเป็นปกติได้อีกครั้ง

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น ตาม นโยบายความเป็นส่วนตัว